เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยป้องกันอวัยวะบอบบางต่างๆ ที่อยู่ภายในที่เกาะเกี่ยว อยู่ภายในกระดูกแต่ละส่วนของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งภายในกระดูก คือ ไขกระดูก ขณะเดียวกันกระดูกยังเป็นแหล่งเก็บสะสมเกลือแร่ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแคลเซียมและฟอสฟอรัส บริเวณรอบกระดูกจะมีเนื้อเยื่อหนาห่อหุ้มอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) ซึ่งเยื่อหุ้มกระดูกนี้ ประกอบด้วยเซลล์กระดูกและหลอดเลือด ซึ่งจะนำเลือดมาเลี้ยงในส่วนของกระดูกชั้นนอก กระดูกชั้นนอกหรือเรียกว่า กระดูกทึบ (Compact bone) ประกอบด้วยเกลือแร่สะสมอยู่เป็นวงกลมล้อมรอบท่อขนาดเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า ท่อฮาเวอร์เชียน (Haversian canal) เซลล์กระดูกรอบๆท่อฮาเวอร์เชียน จะได้รับอาหารและออกซิเจนจากหลอดเลือดที่ผ่านท่อฮาเวอร์เชียนที่ผ่านท่อเหล่านี้ และถ้าหากว่า กระดูกเกิดแตกหัก เส้นประสาทในท่อเล็กๆ นี้ก็จะส่งกระแสประสาทไปยังสมองเราจึงรู้สึกถึงความเจ็บปวด ส่วนกระดูกชั้นในนั้นมองดูคล้ายรวงผึ้ง เพราะมีลักษณะเป็นร่างแหที่มีช่องว่างระหว่างกระดูก เรียกว่า กระดูกพรุน (Spongy bone) แต่ก็มีความแข็งแรงไม่แพ้ส่วนกระดูกทึบเช่นกัน ซึ่งถ้ากระดูกของคนเราเป็นกระดูกทึบทุกท่อนร่างกายคงหนักมาก ไขกระดูกจะมีปริมาณราวๆ 227 กรัม สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ประมาณ 5,000 เม็ด/วัน สำหรับทารกในครรภ์โครงกระดูกทุกชิ้นจะมีไขกระดูกแดงบรรจุอยู่ แต่เมื่อเจริญเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่แล้วจะพบไขกระดูกนี้เฉพาะในส่วนของกะโหลกศรีษะ กระดูกหน้าอก กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพกและบริเวณตอนปลายของกระดูกชิ้นยาวๆ เท่านั้น
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
1.Claviclel – ไหปลาร้า
2.Humerus – กระดูกต้นแขน
3.Sternum – กระดูกหน้าอก
4.Rib – กระดูกซี่โครง
5.Radius – กระดูกแขนด้านนอก
6.Ulna – กระดูกแขนด้านใน
7.Femur – กระดูกต้นขา
8.Patella – สะบ้า
9.Skull – กระโหลกศีรษะ
10.Scapula – กระดูกสะบัก
11.Thoracic Vertebrae – กระดูกสันหลัง
12.LLium – กระดูกสะโพก
13.Sacrum – กระดูกเชิงกราน
14.Tibia – กระดูกหน้าแข้ง
15.Fibula – กระดูกน่อง
ระบบโครงกระดูกประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
กระดูกอ่อน (Cartilage) ทำหน้าที่รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เพื่อที่จะทำให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสี เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อนเรียบ จึงพบว่ากระดูกอ่อนจะอยู่ที่ปลายหรือ
หัวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่าง ๆ และยังเป็นต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทั่วร่างกาย
ข้อต่อ (Joints) คือส่วนต่อระหว่างกระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน เพื่อการเคลื่อนไหว
ของร่างกาย
เอ็น (Tendon) มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดข้อ (Ligament) เป็นเนื้อเยื่อที่มีความแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ช่วยยึดกระดูกกับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
กระดูก (Bone) เป็นส่วนที่แข็งที่สุด โครงกระดูกในผู้ใหญ่ ประกอบด้วยกระดูกจำนวน 206 ชิ้น ส่วนในทารกแรกเกิดจะมีกระดูกถึง 300 ชิ้นเพราะกระดูกอ่อนยังไม่ติดกัน
มนุษย์มีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.กระดูกแกนกลางของร่างกาย (Axial skeletal) มีทั้งหมด 80 ชิ้น ได้แก่
1.1. กระดูกกะโหลกศรีษะ (Cranium)
– กระดูกหน้าผาก (Frontal bone) 1ชิ้น
– กระดูกด้านข้างศรีษะ (Parietal bone) 2ชิ้น
– กระดูกขมับ (Temporal bone) 2 ชิ้น
– กระดูกท้ายทอย (Occipital bone) 1 ชิ้น
– กระดูกขื่อจมูก (Ethmoid bone) 1ชิ้น
– กระดูกรูปผีเสื้อ (Sphenoid bone) 1 ชิ้น
1.2. กระดูกใบหน้า (Bone of face)
– กระดูกสันจมูก (Nasal bone)2ชิ้น
– กระดูกกั้นช่องจมูก (Vomer) 1ชิ้น
– กระดูกข้างในจมูก (Inferior concha) 2 ชิ้น
– กระดูกถุงน้ำตา (Lacrimal bone) 2ชิ้น
– กระดูกโหนกแก้ม (Zygomatic bone) 2ชิ้น
– กระดูกเพดาน (Palatine bone) 2 ชิ้น
– กระดูกขากรรไกรบน (Maxillary) 2ชิ้น
– กระดูกขากรรไกรล่าง (Mandible) 1 ชิ้น
1.3. กระดูกหู (Bone of ear)
– กระดูกรูปฆ้อน (Malleus) 2ชิ้น
– กระดูกรูปทั่ง (Incus) 2 ชิ้น
– กระดูกรูปโกลน (Stapes) 2 ชิ้น
1.4. กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
1.5. กระดูกสันหลัง (Vertebrae) 26 ชิ้น ได้แก่
– กระดูกสันหลังส่วนคอ (Cervical vertebrae) 7 ชิ้น
– กระดูกสันหลังส่วนอก (Thoracic vertebrae) 12ชิ้น
– กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar vertebrae) 5ชิ้น
– กระดูกกระเบนเหน็บ (Sacrum) 1ชิ้น
– กระดูกก้นกบ (Coccyx) 1 ชิ้น
1.6. กระดูกทรวงอก (Sternum) 1 ชิ้น
1.7. กระดูกซี่โครง (Rib) 24 ชิ้น
2.กระดูกระยางค์ (Appendicular skeletal) ประกอบด้วย กระดูก 126 ชิ้น ได้แก่
2.1. กระดูกไหล่ (Shoulder girdle) ประกอบด้วย
– กระดูกไหปลาร้า (Clavicle) 2ชิ้น
– กระดูกสะบัก (Scapular) 2 ชิ้น
2.2. กระดูกต้นแขน (Humerus) 2 ชิ้น
2.3. กระดูกปลายแขน (Bone of forearm) ประกอบด้วย
– กระดูกปลายแขนท่อนใน (Ulna) 2 ชิ้น
– กระดูกปลายแขนท่อนนอก (Radius) 2 ชิ้น
2.4. กระดูกข้อมือ (Carpal bone) 16 ชิ้น
2.5. กระดูกฝ่ามือ (Metacarpal bone) 10 ชิ้น
2.6. กระดูกนิ้วมือ (Phalanges) 28 ชิ้น
2.7. กระดูกเชิงกราน (Hip bone) 2 ชิ้น
2.8. กระดูกต้นขา (Femur) 2 ชิ้น
2.9. กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) 2 ชิ้น
2.10. กระดูกน่อง (Fibula) 2 ชิ้น
2.11. กระดูกข้อเท้า (Tarsal bone) 14 ชิ้น
2.12. กระดูกฝ่าเท้า (Metatarsal bone) 10 ชิ้น
2.13. กระดูกนิ้วเท้า (Phalanges) 28 ชิ้น
จำนวนของกระดูก (Number of bone)
จำนวนของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย หมายถึง กระดูกในผู้ใหญ่ที่เจริญเต็มที่แล้ว มีทั้งสิ้น 206 ชิ้น โดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
– กะโหลกศรีษะ( Cranium) 8 ชิ้น
– กระดูกหน้า (Face) 14 ชิ้น
– กระดูกหู (Ear) 6 ชิ้น :กระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) 1 ชิ้น
– กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น
– กระดูกหน้าอก (Sternum) 1 ชิ้น
– กระดูกซี่โครง (Ribs) 24 ชิ้น
– กระดูกแขน (Upper extremities) 64 ชิ้น
– กระดูกขา (Lower extremities) 62 ชิ้น
แบ่งตามลักษณะกระดูก
- กระดูกยาว ได้แก่ กระดูกแขน กระดูกขา
- กระดูกสั้น ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า
- กระดูกแบน ได้แก่ กระดูกซี่โครง กระดูกอก กระดูกสะบัก
- กระดูกยาว รูปร่างไม่แน่นอน ได้แก่ กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน
- กระดูกลม
- กระดูกโพรงกะโหลกศีรษะ
หน้าที่ของกระดูก
- ช่วยรองรับอวัยวะต่างๆ ให้ทรงและตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ควรอยู่ (Organ of support)
- เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น พาร่างกายย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Instrument of locomotion)
- เป็นโครงของส่วนแข็ง (Framework of hard material)
- เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ และ Ligament เพื่อทำหน้าที่เป็นคานให้กล้ามเนื้อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
- ช่วยป้องกันอวัยวะสำคัญไม่ให้ได้รับอันตราย เช่น สมอง ปอด และหัวใจ เป็นต้น
- ทำให้ร่างกายคงรูปได้ (Shape to whole body)
- ภายในกระดูกมีไขกระดูก (Bone marrow) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell)
- เป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย
- ป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูกนั้น
ข้อต่อและกระดูก
กระดูกที่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่ การที่กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อๆกัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลราบรื่นมากขึ้น
กระดูกที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น กะโหลกศีรษะ
กระดูกเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย เช่น กระดูกบริเวณก้นกบ
กระดูกแบบบานพับ เช่น กระดูกต้นแขน ข้อต่อบริเวณหัวเข่า
กระดูกแบบหัวกลม เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกต้นคอ กระดูกต้นขากระดูกสะบักเป็นต้น
เคลื่อนไหวของข้อต่อ
- เคลื่อนได้ระนาบเดียวกัน(แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
- เคลื่อนได้2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง
- เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพ
อ้างอิง
http://sripibul.blogspot.com/2010/05/blog-post.html
http://www.panjasart.net/index.aspx?ContentID=ContentID-060518163602815
http://www.thaigoodview.com/node/95206
https://sites.google.com/site/organsystemwork/-skeletal-system